พัฒนาโปรแกรมเพื่อเชื่อมต่อบนเคลือข่าย

การพัฒนาโปรแกรมเพื่อเชื่อมต่อบนเคลือข่าย
   Network Programming เสมือนกับการพัฒนาโปรแกรมช็อกเก็ต (Socket) หรือพัฒนาโปรแกรมลูกข่าย/แม่ข่าย (Client/Server) เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างโปรแกรมประยุกต์ ระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันเป็นเคลือข่าย
  หลักการทำงานของโปรแกรมจะเริ่มร้องขอการเชื่อมต่อจากฝั่ง Client ไปยัง Server โดยโปรแกรมฝั่ง Server จะเฝ้ารอการร้องขอการเชื่อมต่อ ทั้งนี้การเชื่อมต่อระหว่างทั้งสองเครื่องสามารถ เป็นไปได้ทั้งแบบกำหนดการเชื่อมต่อ (Connection Oriented) หรือการใช้งานผ่านโปรโตคอล TCP(Transmission Control Protocol) และแบบไม่กำหนดการเชื่อมต่อ (Connectionless) หรือการใช้งานผ่านโปรโตคอล UDP (User Datagram Protoco)
   โปรแกรมการเชื่อมต่อบนเคลือข่ายแบบช็อกเก็ตนั้น โดยปกติแล้วจะผนวกอยู่กับระบบปฎิบิติการและภาษาที่ใช้ในการพัฒนาโปรแกรมที่ร้องขอผ่านส่วนต่อประสานโปรแกรมประยุกต์ หรือ APL(Application Programming Interface) เช่น Winsock และ Strems Based Transport Layer Interface (TLI) โดยมีฟังค์ชั่นการใช้งานดังต่อไปนี้
- Socket() : เป็นการสร้างซ็อกเก็ตใหม่ เพื่อแบ่งทรัพยากรในการใช้งาน
- bind() : ฟังค์ชั่นนี้จะถูกใช้ฝั่ง server เพื่อผสานยึดเหนียว (Bind)การเชื่อมต่อช็อกเก็ตฝั่ง Server
- Listen () : ฟังค์ชั่นนี้จะถูกใช้ฝั่ง server เพื่อรอรับการเชื่อมต่อซ็อกเก็ตจากฝั่ง Client
- Connect () : ฟังค์ชั่นนี้จะถูกใช้ฝั่ง Client โดยจัดสรรค่าพอร์ตที่ไม่ซ้ำกันสำหรับซ็อกเก็ตหนึ่งๆ เพื่อร้องขอการเชื่อมต่อไปยัง Server
- accept () : ฟังค์ชั่นนี้จะถูกใช้ฝั่ง Server จะถูกใช้เมื่อฝั่ง Server ยอมรับการร้องขอการเชื่อมต่อจาก Client เมื่อมีการยอมรับแล้ว Connection จะถูกสร้างขึ้น เพื่อแสดงถึงการเชื่อมต่อระหว่างซ็อกเก็ตทั้งสองฝั่ง
- send () and recv(),or write() and read(),Or recvfrom()and sendtol():ฟังก์ชันข้างต้นถูกใช้เพื่อส่งและรับข้อมูลในแต่ละคอนเน็คชั่น ทั้งนี้
ฟังก์ซันต่างๆจะขึ้นอยู่กับ APL บนระบบปฎิบัติการและภาษาที่ใช้ในการพัฒนาโปรแกรม
- Close (): ใช้เมื่อมีการปิดหรือยกเลิกการเชื่อมต่อบนเคลือข่าย และจะคืนทรัพยากรต่างๆ ในกับระบบ

Visitors: 88,403